วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

หอบไปได้อย่างไร

หลายคนเคยถามด้วยความสงสัยว่าเหตุใดเวลาอ่านข่าวหรือ ดูข่าวเกี่ยวกับพายุทอร์นาโดมักจะปรากฎว่า บ้าน รถยนต์ ฯลฯ ถูกหอบไปด้วย การทดลองนี้จะช่วยให้หลายๆคนเข้าใจได้

วัสดุอุปกรณ์
1.ลูกปิงปอง 2 ลูก
2.เชือกขนาดเล็ก 2 เส้น
3.ไม้บรรทัดหนา
4.หนังสือหลายๆ เล่ม
5.เทปใส


วิธีการทดลอง
1.ใช้เทปใสติดปลายเชือกกับลูกปิงปองเส้นละลูก แล้วผูกอีกปลายหนึ่ง เข้ากับไม้บรรทัด ให้ลูกปิงปองห่างกันประมาณ 2 เซนติเมตร
2.วางไม้บรรทัดในข้อ 1 ไว้บนขอบโต๊ะโดยให้ส่วนที่มีลูกปิงปองห้อยนั้น อยู่ห่างจากขอบโต๊ะประมาณ 10 เซนติเมตร ใช้หนังสือหลายๆเล่มทับ ไม้บรรทัดด้านที่อยู่บนโต๊ะ
3. เป่าลมผ่านช่องระหว่างลูกปิงปอง ทั้งสองลูกก่อนเป่าให้คาดเดาไว้ว่า จะเกิดอะไรขึ้น สังเกตผล
4.ทำเช่นเดียวกับข้อ 3 โดยเป่าด้วย แรงมากน้อยต่างกัน สังเกตผล



ผลการทดลอง
เมื่อเป่าลมผ่านระหว่างลูกปิงปอง ลูกปิงปองทั้งสองจะเบนเข้าหากัน และยิ่งเป่าแรงมาก ลูกปิงปองก็จะเบนเข้าหากันมากขึ้นและอาจชนกัน การที่ลูกปิงปองเบนเข้าหากันนั้น เนื่องจากเมื่อเป่าลมจะทำให้อากาศ ระหว่างลูกปิงปองเคลื่อนที่ ทำให้บริเวณนั้นมีความดันอากาศต่ำลง อากาศบริเวณที่อยู่ด้านนอกลูกปิงปองทั้งสอง ซึ่งมีความดันอากาศปกติ แต่สูงกว่าอากาศระหว่างลูกปิงปองจะดันลูกปิงปองไปในทิศทางที่อากาศ มีความดันต่ำกว่า
การที่อากาศเคลื่อนที่เร็วทำให้บริเวณนั้นมีความดันอากาศลดลง ยิ่ง เคลื่อนที่เร็วมากแค่ไหน ความดันอากาศก็จะยิ่งลดลงมากเท่านั้น และนี่ เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ทอร์นาโด ซึ่งมีความเร็วลมมากอาจถึง 480 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง สามารถทำลายสิ่งต่างๆได้ และหอบเอา บ้าน รถยนต์ และอื่นๆ ไปด้วย

ที่มา : http://www.ipst.ac.th/Activity_PrimarySci/science-p/main-sci-p.html

ลูกโป่งประหลาด

วัสดุอุปกรณ์
1.ลูกโป่ง
2.กระดาษ
3.เศษกระดาษ
4.ยางรัด
5.เกลือ น้ำตาล พริกไทย เส้นผม


วิธีการทดลอง
1. โรยเกลือ น้ำตาล พริกไทยไว้บนกระดาษซึ่งมีเศษกระดาษเล็กๆ อยู่
2. เป่าลูกโป่งแล้วรัดด้วยยางให้แน่น
3. แหย่ลูกโป่งใกล้ๆ เศษกระดาษ เกลือ น้ำตาล พริกไทย และ เส้นผม แล้วสังเกตผล
4. ถูลูกโป่งที่เสื้อผ้านักเรียน แล้ว ลองแหย่ใกล้ๆ วัสดุในข้อ 3 อีกครั้ง แล้วสังเกตผล





ผลการทดลอง
เมื่อแหย่ลูกโป่งที่ถูกับเสื้อผ้าใกล้ๆ เศษกระดาษน้ำตาล เกลือ พริกไทย และเส้นผมสิ่งเหล่านี้จะถูกดูดติดกับลูกโป่ง ทั้งนี้เนื่องจากขณะที่ถูลูกโป่งกับ เสื้อผ้านั้น จะเกิดไฟฟ้าสถิตขึ้น ทำให้สามารถดูดวัสดุเบาๆ ขึ้นมาได้
เศษกระดาษ น้ำตาล ฯลฯนั้นปกติอยู่ในสถานะเป็นกลาง เมื่อถูลูกโป่ง ด้วยเสื้อผ้าประจุลบจะมาเรียงกันที่ผิว เมื่อนำลูกโป่งมาใกล้เศษกระดาษ น้ำตาล เส้นผม ฯลฯ ประจุลบบนลูกโป่งจึงดูดประจุบวกบนเศษกระดาษ น้ำตาล เส้นผม ฯลฯ ทำให้สิ่งเหล่านี้ถูกดูดติดกับลูกโป่ง
การทดลองนี้ต้องทดลองในวันที่อากาศแห้ง วัสดุต่างๆ ต้องแห้งด้วย จึงจะได้ผล

วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ดังกว่าได้อย่างไร

วัสดุอุปกรณ์
1.ลูกโป่ง
2.เศษกระดาษ
3.ไม้บรรทัด
4.ยางรัด


วิธีการทดลอง
1.เป่าลูกโป่งให้พองเต็มที่ แล้ววัดความกว้างของลูกโป่งนี้ว่าเป็นเท่าไร
2.ให้เพื่อนถือเศษกระดาษให้อยู่ระดับหูห่างจากหูเท่ากับความกว้าง ลูกโป่ง แล้วใช้นิ้วมือเคาะเบาๆที่กระดาษ สังเกตว่าได้ยินเสียงหรือไม่ อย่างไร
3.จับลูกโป่งในข้อ 1 แนบหู ให้เพื่อน สอดเศษกระดาษเข้าไประหว่าง ลูกโป่งและมือที่จับ แล้วใช้นิ้ว เคาะเบาๆที่กระดาษเปรียบเทียบ ความดังที่ได้ยิน



ผลการทดลอง
เมื่อเคาะเบาๆที่กระดาษที่แนบติดกับลูกโป่งจะได้ยินเสียงดังชัดเจน กว่าเมื่อเคาะโดยไม่มีลูกโป่งกั้น ที่เป็นดังนี้เพราะอากาศภายในลูกโป่งมี มากและถูกอัดให้อยู่ภายในลูกโป่ง ดังนั้นอนุภาค (โมเลกุล) ของอากาศจะ อยู่ใกล้ชิดกันมากกว่าอนุภาคของอากาศภายนอก อากาศที่มีอนุภาคใกล้ชิด กันมากจะเป็นตัวกลางที่ดีในการให้เสียงเคลื่อนที่ผ่าน