วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2552

สวิตซ์ทำให้หลอดไฟสว่างต่างกันอย่างไร

วัสดุอุปกรณ์
1. ถ่ายไฟฉาย ขนาด D
2. หลอดไฟ
3. สายไฟ
4. ไส้ดินสอ
5. เทปใส
6. มีดโกน


วิธีการทดลอง
1.ปอกฉนวนหุ้มสายไฟ 2 ปลาย ให้ปลายหนึ่งยาวกว่าเพื่อที่จะพันรอบฐาน หลอดไฟได้
2.ต่อปลายสายไฟด้านหนึ่งเข้ากับ ขั้วบวกของถ่านไฟฉาย อีกด้าน หนึ่งพันรอบฐานหลอดไฟ ดังรูป
3.วางอีกขั้วหนึ่งของถ่านไฟฉายลง บนไส้ดินสอ วางฐานหลอดไฟ บนไส้ดินสอ สังเกตความสว่าง ของหลอดไฟ
4.ค่อยๆ เลื่อนฐานหลอดไฟไปตามไส้ดินสอ โดยเลื่อนไปให้ห่างจากถ่านไฟฉาย ออกไปเรื่อยๆ สังเกตความสว่างของหลอดไฟ




ผลการทดลอง
เมื่อค่อยๆ เลื่อนฐานหลอดไฟให้ห่างออกไป ความสว่างของหลอดไฟ จะค่อยๆหรี่ลงยิ่งระยะห่างระหว่างถ่านไฟฉายและหลอดไฟมีมากเท่าไร กระแสไฟฟ้าที่ผ่านไส้ดินสอจะยิ่งลดลง ทำให้หลอดไฟหรี่ความสว่างลง ทั้งนี้เพราะไส้ดินสอเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ไม่ดี

ไข่ลอย ไข่จม

วัสดุอุปกรณ์
1. เกลือ
2. ไข่ไก่สด
3. บีกเกอร์ขนาด 500 cm3
4. น้ำประปา
5. ช้อนตักสาร
6. แท่งแก้วคนสาร


วิธีทดลอง
1.เทน้ำประปาใส่ลงในบีกเกอร์ประมาณครึ่งบีกเกอร์ นำไข่ไก่สดใส่ลงไปในน้ำ (วางเบาๆ) และสังเกตผลจากนั้นนำไข่ไก่ออก
2.ใส่เกลือลงไปในบีกเกอร์เดิมประมาณ 5 ช้อน ใช้แท่งแก้วคนจนเกลือละลายหมด นำไข่ไก่ใบเดิมใส่ลงไป และสังเกตผล




ผลการทดลอง
จะพบว่า เมื่อนำไข่ไก่สดใส่ลงในน้ำประปาธรรมดา น้ำหนักของไข่ไก่จะดึงไข่ไก่ให้จมลงสู่ก้นบีกเกอร์ เนื่องจากความหนาแน่นของไข่ไก่มากกว่าความหนาแน่นของน้ำ น้ำจึงไม่สามารถพยุงไข่ไก่ให้ลอยขึ้นได้ แต่เมื่อใส่เกลือลงในน้ำประปาจำนวน 5 ช้อน ไข่ไก่สดใบเดิมจะลอยสูงจากก้นบีกเกอร์ ประมาณ 8 cm จากระดับน้ำสูง 10 cm เนื่องจากน้ำเกลือมีความเข้มข้นมากกว่า หรืออีกนัยหนึ่งคือ มีความหนาแน่นมากกว่าน้ำประปาธรรมดา ไข่ไก่มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำเกลือจึงสามารถลอยขึ้นได้
หากนำผลการทดลองและความรู้จากการทดลองนี้ มาใช้ในชีวิตประจำวัน เราอาจกล่าวได้ว่า การหัดว่ายน้ำในทะเล น่าจะสามารถพยุงตัวได้ดีกว่าว่ายน้ำในแม่น้ำ เนื่องจากน้ำทะเลมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำในแม่น้ำ

ที่มา : http://www.ipst.ac.th/Activity_PrimarySci/science-p/main-sci-p.html

การเกิดหมอก

วัสดุอุปกรณ์
1.ขวดแก้วปากกว้างพร้อมฝา
2.ไม้ขีดไฟ
3.น้ำ
4.น้ำแข็งก้อน


วิธีการทดลอง
1.รินน้ำเล็กน้อยลงในขวดแก้ว ปิดฝาแล้วเขย่า เพื่อให้อากาศภายในขวดทุกส่วนสัมผัสกับน้ำ เทน้ำที่เหลือออก
2.จุดไม้ขีดไฟ แล้วใส่ลงในขวด เมื่อไฟดับ ให้ปิด ปากขวดด้วยฝา
3.วางน้ำแข็งบนฝา สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นภายใน





ผลการทดลอง
เราจะเห็นภายในขวดมีลักษณะคล้ายหมอก การที่ให้อากาศ ภายในขวดสัมผัสน้ำจะทำให้อากาศภายในมีไอน้ำ การจุดไม้ขีดไฟจะช่วย ให้ไอน้ำในขวดอุ่นขึ้นเล็กน้อย เมึ่อไอน้ำสัมผัสกับอากาศที่เย็นกว่า ก็จะ กลั่นตัวเป็นหยดน้ำเล็กๆอยู่กันหนาแน่นมองเห็นลักษณะเป็นควันจางๆ นั่นคือ หมอก

กระดาษไม่เปียก

อากาศที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา ประกอบด้วยก๊าซหลายชนิดทั้งไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ และที่สำคัญสำหรับการดำรง ชีวิตของมนุษย์และบรรดาสัตว์ต่าง ๆ คือ ก๊าซออกซิเจน และยังมีก๊าซอื่น ๆ อีกหลายชนิดที่กระจายตัวอยู่ในอากาศ พื้นที่ส่วน ใหญ่บนโลกล้วนแล้วแต่มีอากาศอยู่ทั้งสิ้น ซึ่งในแต่ละพื้นที่จะมีปริมาณอากาศมากหรือน้อยแตกต่างกันไป เราสามารถพิสูจน์ได้ว่าอากาศนั้นอยู่รอบตัวเรา และยังมีแรงดันมหาศาลอีกด้วย กับการทดลอง ตอน “อากาศนั้นต้องการที่อยู่”
อุปกรณ์
1. แก้วน้ำใส 1 ใบ
2. กระดาษทิชชู่
3. เทปใส
4. อ่างน้ำบรรจุน้ำเกือบเต็ม
วิธีการทดลอง
1. ยึดกระดาษทิชชู่ให้ติดกับก้นแก้วด้านในด้วยเทปใส
2. คว่ำปากแก้วแล้วกดลงในน้ำตรง ๆ ให้แก้วน้ำทั้งใบจมอยู่ใต้น้ำ อย่าให้แก้วเอียง น้ำอาจเข้าไปในแก้วได้ 3. นับ 1 – 10 แล้วค่อย ๆ ยกแก้วน้ำที่คว่ำอยู่ขึ้นมาตรง ๆ
ผลการทดลอง
เมื่อคลี่กระดาษทิชชู่ที่อยู่ในแก้วน้ำออกมาดู กระดาษไม่เปียกน้ำเลย นั่นเป็นเพราะว่า น้ำในอ่างเข้าไปในแก้วน้ำไม่ได้ เนื่องจากในแก้วมีอากาศอยู่เต็ม และอากาศเหล่านี้จะมีความดันที่จะดันน้ำไม่ให้เข้าไปในแก้วได้ สามารถพิสูจน์ได้ว่าในแก้วมีอากาศอยู่จริง โดยใช้แก้วเปล่าอีกใบหนึ่งที่ไม่มีกระดาษทิชชู ค่อย ๆ คว่ำแก้วลงในน้ำจนแก้วทั้งใบอยู่ใต้น้ำ แล้วลองเอียงแก้ว จะพบว่าบริเวณผิวน้ำจะมีฟองอากาศพุ่งขึ้นมา ฟองอากาศนั้นก็คืออากาศที่เคยอยู่ในแก้วนั่นเอง หลังจากที่อากาศออกมาจากแก้วน้ำแล้ว น้ำในอ่างก็จะเข้าไปอยู่แทนที่ หากทำการทดลองแล้วพบว่า กระดาษเปียก ให้ลองทำดูอีกครั้ง คราวนี้พยายามอย่าเอียงแก้วน้ำ เพราะการเอียงแก้วน้ำจะทำให้น้ำสามารถไหลเข้าไปแทนที่อากาศในแก้วได้ แต่หากกดแก้วลงตรง ๆ การทดลองต้องประสบความสำเร็จแน่นอน

เรือดำน้ำขึ้น - ลงจากผิวน้ำได้อย่างไร

วัสดุอุปกรณ์
1.ปลอก (พลาสติก) ปากกาลูกลื่น
2.ขวดน้ำอัดลม พร้อมฝาปิด
3.ดินน้ำมัน
4.น้ำ


วิธีการทดลอง
1.เติมน้ำลงในขวดพลาสติกเกือบเต็ม
2.หุ้มปลายปลอกปากกาด้วยดินน้ำมัน ดังรูป
3.วางปลอกปากกาข้อ 2 ลงในขวด แล้ว สังเกตว่าปลอกปากกาลอยและตั้งตรง หรือไม่ถ้าไม่ได้ ให้พยายามจัดใหมโดย ปรับดินน้ำมัน แล้วปิดฝาขวดให้แน่น
4.บีบขวดซึ่งมีฝาปิดแน่น สังเกตสิ่งที่ เกิดขึ้นลองคลายมือ สังเกตอีกครั้ง



ผลการทดลอง
เมื่อบีบขวดทำให้ปริมาตรของขวดลดลง น้ำในขวดมีแรงดันมากขึ้น และดันน้ำเข้าไปในปลอกปากกา ทำให้มีน้ำหนักมากขึ้นจึงจม เมื่อคลายมือออก ปริมาตรขวดจะเพิ่มขึ้นกว่าเดิม แรงดันน้ำจะลดลง น้ำที่อยู่ในปลอกปากกา จะถูกอากาศภายในดันออก ทำให้ปลอกปากกาเบาจึงลอยขึ้น การขึ้นสู่ผิวน้ำและดำลงใต้ผิวน้ำของเรือดำน้ำมีหลักการเช่นเดียวกัน โดยเรือดำน้ำจะมีถังพิเศษซึ่งภายในมีอากาศบรรจุอยู่ เมื่อเรือดำน้ำจะดำลง ใต้น้ำ น้ำจะเข้าไปแทนที่อากาศในถัง ทำให้เรือมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น เรือจึงจมลง ใต้น้ำ และในทางกลับกันเมื่อขึ้นสู่ผิวน้ำ อากาศจะถูกปั๊มเข้าไปในถังและ ไล่น้ำออกมา ทำให้เรือมีน้ำหนักน้อยลงจึงลอยขึ้น

ที่มา : http://www.ipst.ac.th/Activity_PrimarySci/science-p/main-sci-p.html

ผ้าทนไฟ

วัสดุอุปกรณ์
1. เหรียญสลึง หรือเหรียญ 50 สตางค์ หรือเหรียญอื่น ๆ (ใช้เหรียญทองแดงดีที่สุด)
2. เศษผ้าฝ้ายหรือเศษผ้าสำลี
3. ธูป 1 ดอก และไม้ขีดไฟ


วิธีการทดลอง
1. จุดธูปแล้วนำมาจี้ที่เศษผ้า ชี้ให้เพื่อน ๆ ดูตรงรอยไหม้ที่เป็นรู
2. นำเศษผ้าชิ้นเดียวกันนี้มาห่อเหรียญไว้ แล้วใช้มือรวบชายเศษผ้าให้ตึง
3. นำธูปมาจี้ตรงผ้าบริเวณที่ห่อเหรียญไว้ (ดังรูป) แล้วให้เพื่อน ๆ สังเกตดูว่าเกิดอะไรขึ้น
4. เอาธูปออก แล้วโชว์ผ้าให้เพื่อนดูตรงบริเวณที่ใช้ธูปจี้ ซึ่งจะสังเกตเห็นว่าไม่มีรอยไหม้เกิดขึ้นเลย




ผลการทดลอง
จะเห็นได้ว่าตอนแรกธูปเพียงดอกเดียว ก็สามารถทำให้ผ้าไหม้เป็นรูได้โดยง่าย แต่เมื่อเราเอาเศษผ้า นี้ไปห่อเหรียญเอาไว้แล้วใช้ธูปจี้ ผ้าก็ไม่ไหม้เพราะว่าความร้อนจากธูปนี้จะถูกเหรียญดูดเก็บไว้ และเหรียญ จะเป็นตัวนำความร้อนออกจากผ้า จึงทำให้อุณหภูมิของผ้าลดลง และความร้อนจากธูปก็ไม่สามารถที่จะทำให้ เหรียญไหม้ได้นี่ละค่ะ... คือคำตอบที่ว่า ทำไมผ้าที่หุ้มเหรียญไว้จึงไม่ไหม้ ในการทดลองนี้ต้องใช้ผ้าหุ้มเหรียญไว้ให้แน่นตึงนะคะ จึงจะทดลองได้ ผลดี...

ที่มา : http://www.ipst.ac.th/Activity_PrimarySci/science-p/main-sci-p.html

น้ำพุในขวดแก้ว

วัสดุอุปกรณ์
1. ขวดแก้วรูปทรงกลมก้นแบนขนาด 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร 1 ใบ
2. ปิเปต 1 อัน สายยางขนาดความยาว 12 นิ้ว 1 เส้น และจุกยางที่มีรูตรงกลาง 1 อัน
3. บีกเกอร์ขนาด 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร 1 ใบ เศษกระเบื้องชิ้นเล็ก ๆ 2-3 ชิ้น
4. ตะเกียงแอลกอฮอล์พร้อมด้วยชุดขาตั้ง 1 ชุด และที่จับขวด 1 อัน
5. น้ำสีตามใจชอบ 1 สี


วิธีการทดลอง
1. ใส่น้ำลงในขวดแก้วรูปทรงกลมประมาณ 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร พร้อมทั้งใส่เศษกระเบื้องชิ้นเล็ก ๆ ลงไป 2-3 ชิ้น แล้วนำไปต้มด้วยตะเกียงแอลกอฮอล์
2. ต้มน้ำจนเดือดและปล่อยให้เดือดต่อไปอีก 1 นาที
3. ต่อสายยางเข้ากับปิเปตแล้วนำไปเสียงเข้ากับจุกยาง



ผลการทดลอง
เมื่อเราต้มน้ำ น้ำก็จะระเหยกลายเป็นไออยู่ภายในขวดแก้วรูปทรงกลม และไอน้ำนี่เองที่จะเป็นตัวดันให้อากาศ ออกไปอยู่นอกขวด และเมื่อเราปิดปากขวดแก้วรูปทรงกลมด้วยชุดปิเปตที่ต่อเข้ากับสายยางและจุกยางก็ยิ่ง ทำให้ไอน้ำถูกกักไว้ภายในขวด หลังจากที่เราคว่ำขวดแล้วและนำปลายสายยาง จุ่มลงในบีกเกอร์ที่มีน้ำสีอยู่ ความเย็นจากน้ำในบีกเกอร์ก็จะถูกดูดขึ้นไปในปิเปตอย่างช้า ๆ และเมื่อน้ำที่ออกจากปิเปตไปกระทบกับ ก้นขวด ความเย็นก็จะแผ่กระจายไปทั่ว ๆ ขวดทำให้ไอน้ำกลั่นตัวเร็วขึ้นก่อให้เกิดสภาวะของการเป็น สูญญากาศอย่างรวดเร็วขึ้นในขวด น้ำจึงถูกดูดขึ้นไปอย่างรวดเร็วและแรงขึ้น

ที่มา : http://www.ipst.ac.th/Activity_PrimarySci/science-p/main-sci-p.html