วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

หอบไปได้อย่างไร

หลายคนเคยถามด้วยความสงสัยว่าเหตุใดเวลาอ่านข่าวหรือ ดูข่าวเกี่ยวกับพายุทอร์นาโดมักจะปรากฎว่า บ้าน รถยนต์ ฯลฯ ถูกหอบไปด้วย การทดลองนี้จะช่วยให้หลายๆคนเข้าใจได้

วัสดุอุปกรณ์
1.ลูกปิงปอง 2 ลูก
2.เชือกขนาดเล็ก 2 เส้น
3.ไม้บรรทัดหนา
4.หนังสือหลายๆ เล่ม
5.เทปใส


วิธีการทดลอง
1.ใช้เทปใสติดปลายเชือกกับลูกปิงปองเส้นละลูก แล้วผูกอีกปลายหนึ่ง เข้ากับไม้บรรทัด ให้ลูกปิงปองห่างกันประมาณ 2 เซนติเมตร
2.วางไม้บรรทัดในข้อ 1 ไว้บนขอบโต๊ะโดยให้ส่วนที่มีลูกปิงปองห้อยนั้น อยู่ห่างจากขอบโต๊ะประมาณ 10 เซนติเมตร ใช้หนังสือหลายๆเล่มทับ ไม้บรรทัดด้านที่อยู่บนโต๊ะ
3. เป่าลมผ่านช่องระหว่างลูกปิงปอง ทั้งสองลูกก่อนเป่าให้คาดเดาไว้ว่า จะเกิดอะไรขึ้น สังเกตผล
4.ทำเช่นเดียวกับข้อ 3 โดยเป่าด้วย แรงมากน้อยต่างกัน สังเกตผล



ผลการทดลอง
เมื่อเป่าลมผ่านระหว่างลูกปิงปอง ลูกปิงปองทั้งสองจะเบนเข้าหากัน และยิ่งเป่าแรงมาก ลูกปิงปองก็จะเบนเข้าหากันมากขึ้นและอาจชนกัน การที่ลูกปิงปองเบนเข้าหากันนั้น เนื่องจากเมื่อเป่าลมจะทำให้อากาศ ระหว่างลูกปิงปองเคลื่อนที่ ทำให้บริเวณนั้นมีความดันอากาศต่ำลง อากาศบริเวณที่อยู่ด้านนอกลูกปิงปองทั้งสอง ซึ่งมีความดันอากาศปกติ แต่สูงกว่าอากาศระหว่างลูกปิงปองจะดันลูกปิงปองไปในทิศทางที่อากาศ มีความดันต่ำกว่า
การที่อากาศเคลื่อนที่เร็วทำให้บริเวณนั้นมีความดันอากาศลดลง ยิ่ง เคลื่อนที่เร็วมากแค่ไหน ความดันอากาศก็จะยิ่งลดลงมากเท่านั้น และนี่ เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ทอร์นาโด ซึ่งมีความเร็วลมมากอาจถึง 480 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง สามารถทำลายสิ่งต่างๆได้ และหอบเอา บ้าน รถยนต์ และอื่นๆ ไปด้วย

ที่มา : http://www.ipst.ac.th/Activity_PrimarySci/science-p/main-sci-p.html

ลูกโป่งประหลาด

วัสดุอุปกรณ์
1.ลูกโป่ง
2.กระดาษ
3.เศษกระดาษ
4.ยางรัด
5.เกลือ น้ำตาล พริกไทย เส้นผม


วิธีการทดลอง
1. โรยเกลือ น้ำตาล พริกไทยไว้บนกระดาษซึ่งมีเศษกระดาษเล็กๆ อยู่
2. เป่าลูกโป่งแล้วรัดด้วยยางให้แน่น
3. แหย่ลูกโป่งใกล้ๆ เศษกระดาษ เกลือ น้ำตาล พริกไทย และ เส้นผม แล้วสังเกตผล
4. ถูลูกโป่งที่เสื้อผ้านักเรียน แล้ว ลองแหย่ใกล้ๆ วัสดุในข้อ 3 อีกครั้ง แล้วสังเกตผล





ผลการทดลอง
เมื่อแหย่ลูกโป่งที่ถูกับเสื้อผ้าใกล้ๆ เศษกระดาษน้ำตาล เกลือ พริกไทย และเส้นผมสิ่งเหล่านี้จะถูกดูดติดกับลูกโป่ง ทั้งนี้เนื่องจากขณะที่ถูลูกโป่งกับ เสื้อผ้านั้น จะเกิดไฟฟ้าสถิตขึ้น ทำให้สามารถดูดวัสดุเบาๆ ขึ้นมาได้
เศษกระดาษ น้ำตาล ฯลฯนั้นปกติอยู่ในสถานะเป็นกลาง เมื่อถูลูกโป่ง ด้วยเสื้อผ้าประจุลบจะมาเรียงกันที่ผิว เมื่อนำลูกโป่งมาใกล้เศษกระดาษ น้ำตาล เส้นผม ฯลฯ ประจุลบบนลูกโป่งจึงดูดประจุบวกบนเศษกระดาษ น้ำตาล เส้นผม ฯลฯ ทำให้สิ่งเหล่านี้ถูกดูดติดกับลูกโป่ง
การทดลองนี้ต้องทดลองในวันที่อากาศแห้ง วัสดุต่างๆ ต้องแห้งด้วย จึงจะได้ผล

วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ดังกว่าได้อย่างไร

วัสดุอุปกรณ์
1.ลูกโป่ง
2.เศษกระดาษ
3.ไม้บรรทัด
4.ยางรัด


วิธีการทดลอง
1.เป่าลูกโป่งให้พองเต็มที่ แล้ววัดความกว้างของลูกโป่งนี้ว่าเป็นเท่าไร
2.ให้เพื่อนถือเศษกระดาษให้อยู่ระดับหูห่างจากหูเท่ากับความกว้าง ลูกโป่ง แล้วใช้นิ้วมือเคาะเบาๆที่กระดาษ สังเกตว่าได้ยินเสียงหรือไม่ อย่างไร
3.จับลูกโป่งในข้อ 1 แนบหู ให้เพื่อน สอดเศษกระดาษเข้าไประหว่าง ลูกโป่งและมือที่จับ แล้วใช้นิ้ว เคาะเบาๆที่กระดาษเปรียบเทียบ ความดังที่ได้ยิน



ผลการทดลอง
เมื่อเคาะเบาๆที่กระดาษที่แนบติดกับลูกโป่งจะได้ยินเสียงดังชัดเจน กว่าเมื่อเคาะโดยไม่มีลูกโป่งกั้น ที่เป็นดังนี้เพราะอากาศภายในลูกโป่งมี มากและถูกอัดให้อยู่ภายในลูกโป่ง ดังนั้นอนุภาค (โมเลกุล) ของอากาศจะ อยู่ใกล้ชิดกันมากกว่าอนุภาคของอากาศภายนอก อากาศที่มีอนุภาคใกล้ชิด กันมากจะเป็นตัวกลางที่ดีในการให้เสียงเคลื่อนที่ผ่าน

วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2552

สวิตซ์ทำให้หลอดไฟสว่างต่างกันอย่างไร

วัสดุอุปกรณ์
1. ถ่ายไฟฉาย ขนาด D
2. หลอดไฟ
3. สายไฟ
4. ไส้ดินสอ
5. เทปใส
6. มีดโกน


วิธีการทดลอง
1.ปอกฉนวนหุ้มสายไฟ 2 ปลาย ให้ปลายหนึ่งยาวกว่าเพื่อที่จะพันรอบฐาน หลอดไฟได้
2.ต่อปลายสายไฟด้านหนึ่งเข้ากับ ขั้วบวกของถ่านไฟฉาย อีกด้าน หนึ่งพันรอบฐานหลอดไฟ ดังรูป
3.วางอีกขั้วหนึ่งของถ่านไฟฉายลง บนไส้ดินสอ วางฐานหลอดไฟ บนไส้ดินสอ สังเกตความสว่าง ของหลอดไฟ
4.ค่อยๆ เลื่อนฐานหลอดไฟไปตามไส้ดินสอ โดยเลื่อนไปให้ห่างจากถ่านไฟฉาย ออกไปเรื่อยๆ สังเกตความสว่างของหลอดไฟ




ผลการทดลอง
เมื่อค่อยๆ เลื่อนฐานหลอดไฟให้ห่างออกไป ความสว่างของหลอดไฟ จะค่อยๆหรี่ลงยิ่งระยะห่างระหว่างถ่านไฟฉายและหลอดไฟมีมากเท่าไร กระแสไฟฟ้าที่ผ่านไส้ดินสอจะยิ่งลดลง ทำให้หลอดไฟหรี่ความสว่างลง ทั้งนี้เพราะไส้ดินสอเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ไม่ดี

ไข่ลอย ไข่จม

วัสดุอุปกรณ์
1. เกลือ
2. ไข่ไก่สด
3. บีกเกอร์ขนาด 500 cm3
4. น้ำประปา
5. ช้อนตักสาร
6. แท่งแก้วคนสาร


วิธีทดลอง
1.เทน้ำประปาใส่ลงในบีกเกอร์ประมาณครึ่งบีกเกอร์ นำไข่ไก่สดใส่ลงไปในน้ำ (วางเบาๆ) และสังเกตผลจากนั้นนำไข่ไก่ออก
2.ใส่เกลือลงไปในบีกเกอร์เดิมประมาณ 5 ช้อน ใช้แท่งแก้วคนจนเกลือละลายหมด นำไข่ไก่ใบเดิมใส่ลงไป และสังเกตผล




ผลการทดลอง
จะพบว่า เมื่อนำไข่ไก่สดใส่ลงในน้ำประปาธรรมดา น้ำหนักของไข่ไก่จะดึงไข่ไก่ให้จมลงสู่ก้นบีกเกอร์ เนื่องจากความหนาแน่นของไข่ไก่มากกว่าความหนาแน่นของน้ำ น้ำจึงไม่สามารถพยุงไข่ไก่ให้ลอยขึ้นได้ แต่เมื่อใส่เกลือลงในน้ำประปาจำนวน 5 ช้อน ไข่ไก่สดใบเดิมจะลอยสูงจากก้นบีกเกอร์ ประมาณ 8 cm จากระดับน้ำสูง 10 cm เนื่องจากน้ำเกลือมีความเข้มข้นมากกว่า หรืออีกนัยหนึ่งคือ มีความหนาแน่นมากกว่าน้ำประปาธรรมดา ไข่ไก่มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำเกลือจึงสามารถลอยขึ้นได้
หากนำผลการทดลองและความรู้จากการทดลองนี้ มาใช้ในชีวิตประจำวัน เราอาจกล่าวได้ว่า การหัดว่ายน้ำในทะเล น่าจะสามารถพยุงตัวได้ดีกว่าว่ายน้ำในแม่น้ำ เนื่องจากน้ำทะเลมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำในแม่น้ำ

ที่มา : http://www.ipst.ac.th/Activity_PrimarySci/science-p/main-sci-p.html

การเกิดหมอก

วัสดุอุปกรณ์
1.ขวดแก้วปากกว้างพร้อมฝา
2.ไม้ขีดไฟ
3.น้ำ
4.น้ำแข็งก้อน


วิธีการทดลอง
1.รินน้ำเล็กน้อยลงในขวดแก้ว ปิดฝาแล้วเขย่า เพื่อให้อากาศภายในขวดทุกส่วนสัมผัสกับน้ำ เทน้ำที่เหลือออก
2.จุดไม้ขีดไฟ แล้วใส่ลงในขวด เมื่อไฟดับ ให้ปิด ปากขวดด้วยฝา
3.วางน้ำแข็งบนฝา สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นภายใน





ผลการทดลอง
เราจะเห็นภายในขวดมีลักษณะคล้ายหมอก การที่ให้อากาศ ภายในขวดสัมผัสน้ำจะทำให้อากาศภายในมีไอน้ำ การจุดไม้ขีดไฟจะช่วย ให้ไอน้ำในขวดอุ่นขึ้นเล็กน้อย เมึ่อไอน้ำสัมผัสกับอากาศที่เย็นกว่า ก็จะ กลั่นตัวเป็นหยดน้ำเล็กๆอยู่กันหนาแน่นมองเห็นลักษณะเป็นควันจางๆ นั่นคือ หมอก

กระดาษไม่เปียก

อากาศที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา ประกอบด้วยก๊าซหลายชนิดทั้งไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ และที่สำคัญสำหรับการดำรง ชีวิตของมนุษย์และบรรดาสัตว์ต่าง ๆ คือ ก๊าซออกซิเจน และยังมีก๊าซอื่น ๆ อีกหลายชนิดที่กระจายตัวอยู่ในอากาศ พื้นที่ส่วน ใหญ่บนโลกล้วนแล้วแต่มีอากาศอยู่ทั้งสิ้น ซึ่งในแต่ละพื้นที่จะมีปริมาณอากาศมากหรือน้อยแตกต่างกันไป เราสามารถพิสูจน์ได้ว่าอากาศนั้นอยู่รอบตัวเรา และยังมีแรงดันมหาศาลอีกด้วย กับการทดลอง ตอน “อากาศนั้นต้องการที่อยู่”
อุปกรณ์
1. แก้วน้ำใส 1 ใบ
2. กระดาษทิชชู่
3. เทปใส
4. อ่างน้ำบรรจุน้ำเกือบเต็ม
วิธีการทดลอง
1. ยึดกระดาษทิชชู่ให้ติดกับก้นแก้วด้านในด้วยเทปใส
2. คว่ำปากแก้วแล้วกดลงในน้ำตรง ๆ ให้แก้วน้ำทั้งใบจมอยู่ใต้น้ำ อย่าให้แก้วเอียง น้ำอาจเข้าไปในแก้วได้ 3. นับ 1 – 10 แล้วค่อย ๆ ยกแก้วน้ำที่คว่ำอยู่ขึ้นมาตรง ๆ
ผลการทดลอง
เมื่อคลี่กระดาษทิชชู่ที่อยู่ในแก้วน้ำออกมาดู กระดาษไม่เปียกน้ำเลย นั่นเป็นเพราะว่า น้ำในอ่างเข้าไปในแก้วน้ำไม่ได้ เนื่องจากในแก้วมีอากาศอยู่เต็ม และอากาศเหล่านี้จะมีความดันที่จะดันน้ำไม่ให้เข้าไปในแก้วได้ สามารถพิสูจน์ได้ว่าในแก้วมีอากาศอยู่จริง โดยใช้แก้วเปล่าอีกใบหนึ่งที่ไม่มีกระดาษทิชชู ค่อย ๆ คว่ำแก้วลงในน้ำจนแก้วทั้งใบอยู่ใต้น้ำ แล้วลองเอียงแก้ว จะพบว่าบริเวณผิวน้ำจะมีฟองอากาศพุ่งขึ้นมา ฟองอากาศนั้นก็คืออากาศที่เคยอยู่ในแก้วนั่นเอง หลังจากที่อากาศออกมาจากแก้วน้ำแล้ว น้ำในอ่างก็จะเข้าไปอยู่แทนที่ หากทำการทดลองแล้วพบว่า กระดาษเปียก ให้ลองทำดูอีกครั้ง คราวนี้พยายามอย่าเอียงแก้วน้ำ เพราะการเอียงแก้วน้ำจะทำให้น้ำสามารถไหลเข้าไปแทนที่อากาศในแก้วได้ แต่หากกดแก้วลงตรง ๆ การทดลองต้องประสบความสำเร็จแน่นอน

เรือดำน้ำขึ้น - ลงจากผิวน้ำได้อย่างไร

วัสดุอุปกรณ์
1.ปลอก (พลาสติก) ปากกาลูกลื่น
2.ขวดน้ำอัดลม พร้อมฝาปิด
3.ดินน้ำมัน
4.น้ำ


วิธีการทดลอง
1.เติมน้ำลงในขวดพลาสติกเกือบเต็ม
2.หุ้มปลายปลอกปากกาด้วยดินน้ำมัน ดังรูป
3.วางปลอกปากกาข้อ 2 ลงในขวด แล้ว สังเกตว่าปลอกปากกาลอยและตั้งตรง หรือไม่ถ้าไม่ได้ ให้พยายามจัดใหมโดย ปรับดินน้ำมัน แล้วปิดฝาขวดให้แน่น
4.บีบขวดซึ่งมีฝาปิดแน่น สังเกตสิ่งที่ เกิดขึ้นลองคลายมือ สังเกตอีกครั้ง



ผลการทดลอง
เมื่อบีบขวดทำให้ปริมาตรของขวดลดลง น้ำในขวดมีแรงดันมากขึ้น และดันน้ำเข้าไปในปลอกปากกา ทำให้มีน้ำหนักมากขึ้นจึงจม เมื่อคลายมือออก ปริมาตรขวดจะเพิ่มขึ้นกว่าเดิม แรงดันน้ำจะลดลง น้ำที่อยู่ในปลอกปากกา จะถูกอากาศภายในดันออก ทำให้ปลอกปากกาเบาจึงลอยขึ้น การขึ้นสู่ผิวน้ำและดำลงใต้ผิวน้ำของเรือดำน้ำมีหลักการเช่นเดียวกัน โดยเรือดำน้ำจะมีถังพิเศษซึ่งภายในมีอากาศบรรจุอยู่ เมื่อเรือดำน้ำจะดำลง ใต้น้ำ น้ำจะเข้าไปแทนที่อากาศในถัง ทำให้เรือมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น เรือจึงจมลง ใต้น้ำ และในทางกลับกันเมื่อขึ้นสู่ผิวน้ำ อากาศจะถูกปั๊มเข้าไปในถังและ ไล่น้ำออกมา ทำให้เรือมีน้ำหนักน้อยลงจึงลอยขึ้น

ที่มา : http://www.ipst.ac.th/Activity_PrimarySci/science-p/main-sci-p.html

ผ้าทนไฟ

วัสดุอุปกรณ์
1. เหรียญสลึง หรือเหรียญ 50 สตางค์ หรือเหรียญอื่น ๆ (ใช้เหรียญทองแดงดีที่สุด)
2. เศษผ้าฝ้ายหรือเศษผ้าสำลี
3. ธูป 1 ดอก และไม้ขีดไฟ


วิธีการทดลอง
1. จุดธูปแล้วนำมาจี้ที่เศษผ้า ชี้ให้เพื่อน ๆ ดูตรงรอยไหม้ที่เป็นรู
2. นำเศษผ้าชิ้นเดียวกันนี้มาห่อเหรียญไว้ แล้วใช้มือรวบชายเศษผ้าให้ตึง
3. นำธูปมาจี้ตรงผ้าบริเวณที่ห่อเหรียญไว้ (ดังรูป) แล้วให้เพื่อน ๆ สังเกตดูว่าเกิดอะไรขึ้น
4. เอาธูปออก แล้วโชว์ผ้าให้เพื่อนดูตรงบริเวณที่ใช้ธูปจี้ ซึ่งจะสังเกตเห็นว่าไม่มีรอยไหม้เกิดขึ้นเลย




ผลการทดลอง
จะเห็นได้ว่าตอนแรกธูปเพียงดอกเดียว ก็สามารถทำให้ผ้าไหม้เป็นรูได้โดยง่าย แต่เมื่อเราเอาเศษผ้า นี้ไปห่อเหรียญเอาไว้แล้วใช้ธูปจี้ ผ้าก็ไม่ไหม้เพราะว่าความร้อนจากธูปนี้จะถูกเหรียญดูดเก็บไว้ และเหรียญ จะเป็นตัวนำความร้อนออกจากผ้า จึงทำให้อุณหภูมิของผ้าลดลง และความร้อนจากธูปก็ไม่สามารถที่จะทำให้ เหรียญไหม้ได้นี่ละค่ะ... คือคำตอบที่ว่า ทำไมผ้าที่หุ้มเหรียญไว้จึงไม่ไหม้ ในการทดลองนี้ต้องใช้ผ้าหุ้มเหรียญไว้ให้แน่นตึงนะคะ จึงจะทดลองได้ ผลดี...

ที่มา : http://www.ipst.ac.th/Activity_PrimarySci/science-p/main-sci-p.html

น้ำพุในขวดแก้ว

วัสดุอุปกรณ์
1. ขวดแก้วรูปทรงกลมก้นแบนขนาด 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร 1 ใบ
2. ปิเปต 1 อัน สายยางขนาดความยาว 12 นิ้ว 1 เส้น และจุกยางที่มีรูตรงกลาง 1 อัน
3. บีกเกอร์ขนาด 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร 1 ใบ เศษกระเบื้องชิ้นเล็ก ๆ 2-3 ชิ้น
4. ตะเกียงแอลกอฮอล์พร้อมด้วยชุดขาตั้ง 1 ชุด และที่จับขวด 1 อัน
5. น้ำสีตามใจชอบ 1 สี


วิธีการทดลอง
1. ใส่น้ำลงในขวดแก้วรูปทรงกลมประมาณ 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร พร้อมทั้งใส่เศษกระเบื้องชิ้นเล็ก ๆ ลงไป 2-3 ชิ้น แล้วนำไปต้มด้วยตะเกียงแอลกอฮอล์
2. ต้มน้ำจนเดือดและปล่อยให้เดือดต่อไปอีก 1 นาที
3. ต่อสายยางเข้ากับปิเปตแล้วนำไปเสียงเข้ากับจุกยาง



ผลการทดลอง
เมื่อเราต้มน้ำ น้ำก็จะระเหยกลายเป็นไออยู่ภายในขวดแก้วรูปทรงกลม และไอน้ำนี่เองที่จะเป็นตัวดันให้อากาศ ออกไปอยู่นอกขวด และเมื่อเราปิดปากขวดแก้วรูปทรงกลมด้วยชุดปิเปตที่ต่อเข้ากับสายยางและจุกยางก็ยิ่ง ทำให้ไอน้ำถูกกักไว้ภายในขวด หลังจากที่เราคว่ำขวดแล้วและนำปลายสายยาง จุ่มลงในบีกเกอร์ที่มีน้ำสีอยู่ ความเย็นจากน้ำในบีกเกอร์ก็จะถูกดูดขึ้นไปในปิเปตอย่างช้า ๆ และเมื่อน้ำที่ออกจากปิเปตไปกระทบกับ ก้นขวด ความเย็นก็จะแผ่กระจายไปทั่ว ๆ ขวดทำให้ไอน้ำกลั่นตัวเร็วขึ้นก่อให้เกิดสภาวะของการเป็น สูญญากาศอย่างรวดเร็วขึ้นในขวด น้ำจึงถูกดูดขึ้นไปอย่างรวดเร็วและแรงขึ้น

ที่มา : http://www.ipst.ac.th/Activity_PrimarySci/science-p/main-sci-p.html